Background



บทบาทหน้าที่
บทบาทและหน้าที่
30 พฤศจิกายน 542

0


บทบาทและหน้าที่
 
              อบต. หรือองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ 2537 (ปัจจุบันมีการแก้ไขถึงฉบับที่ 3 พ.ศ 2542) ครั้งแรกมีจำนวน 617 แห่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 ปัจจุบันมีทั้งหมด
6,744 แห่ง (ข้อมูล ณ 30 ส.ค 2545) มีรูปแบบคล้ายการปกครองระดับชาติกล่าวคือ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ฝ่ายการเมือง และฝ่ายประจำ กล่าวคือ
 
              ก. ฝ่ายการเมือง ประกอบด้วย
                  
                        1. สภา อบต. ประกอบด้วย สมาชิก อบต. ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากประชาชนหมู่บ้านละ 2 คน โดยให้ที่ประชุมเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง  ประธานสภา 1 คน รองประธานสภา1 คน และเลขานุการ อีก 1 คน นอกนั้นเป็นสมาชิกสภา (ซึ่งต้องเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการบริหาร 1 คน และกรรมการบริหารอีก 2 คน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
                              1.1  ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล
                              1.2  พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบล ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
                              1.3  ควบคุมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนพัฒนาตำบล และกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
                        2. คณะกรรมการบริหาร สภา อบต. เป็นผู้เลือกคณะกรรมการบริหาร อบต. ประกอบด้วยประธานกรรมการบริหาร 1 คน
               และกรรมการบริหารอีกจำนวน 2 คน มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการทั้งปวงขององค์การบริหารส่วนตำบลดังนี้
                             2.1 บริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามมติ ข้อบังคับ และแผนพัฒนาตำบล และรับผิดชอบ การบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาให้ความเห็นชอบ
                            2.2 รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลทราบอย่างน้อยปีละสองครั้ง
                            2.3 ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ทางราชการมอบหมาย
 
              ข. ฝ่ายประจำ ประกอบด้วย
                  
                        1. สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป งานธุระการงานการเจ้าหน้าที่ งานสวัสดิการ งานประชุม งานเกี่ยวกับการตราข้อบังคับตำบล งานนิติกร งานการพาณิชย์ งานรัฐพิธี  งานประชาสัมพันธ์ งานจัดทำแผนพัฒนาตำบล งานจัดทำข้อบังคับ งบประมาณประจำปี งานขออนุมัติดำเนินการ ตามข้อบังคับ งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
                       2. ส่วนการคลัง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่าย การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน การตรวจเงิน การหักภาษีเงินได้ และการนำส่งภาษี การตัดโอนเงินเดือน การรายงานเงินคงเหลือ การจัดทำงบจัดทำบัญชีทุกประเภท งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
                       3. ส่วนโยธา ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานสำรวจ ออกแบบ เขียนแบบงานประมาณการค่าใช้จ่ายตามโครงการ งานควบคุมอาคาร งานการก่อสร้าง งานซ่อมบำรุง งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
                       4. ส่วนสาธารณสุข (มีเฉพาะอบต. ชั้นหนึ่ง) ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานสุขาภิบาล งานควบคุมโรคติดต่อ งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย
 
อำนาจหน้าที่ อบต.
 
                 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม(มาตรา 66) ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)
                          (1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
                          (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
                          (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
                          (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                          (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
                          (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เก็บ เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
                          (7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                          (8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
                          (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณ หรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล อาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)             
                          (1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
                          (2) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
                          (3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
                          (4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
                          (5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
                          (6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
                          (7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
                          (8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
                          (9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
                        (10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
                        (11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
                        (12) การท่องเที่ยว
                        (13) การผังเมือง
 
นอกจากที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะสามารถดำเนินการ ภายในเขตของตนเองแล้ว องค์การบริหารส่วนตำบล ยังอาจสามารถทำกิจการ นอกเขต ได้หรือร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วย การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำ และเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน(มาตรา 73) นอกจากอำนาจหน้าที่ซึ่งได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบลแล้วยังมีการรับรองและกำหนดอำนาจหน้าที ขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ในพระราชบัญญัติกำหนด แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ 2542 มาตรา 16 อีก มีทั้งหมด 31 ข้อ ประกอบด้วย
                (1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
                (2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ
                (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
                (4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
                (5) การสาธารณูปโภค
                (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
                (7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
                (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
                (9) การจัดการศึกษา
                (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
                (11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
                (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่
                (13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
                (14) การส่งเสริมกีฬา
                (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
                (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
                (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
                (18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
                (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล
                (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
                (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
                (22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
                (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบร้อยและการอนมัย โรงมหรสพ และสาธารณ สถานอื่นๆ
                (24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และส่งแวดล้อม
                (25) การผังเมือง
                (26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
                (27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
                (28) การควบคุมอาคาร
                (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย
                (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
บทบาทและหน้าที่
30 พฤศจิกายน 542

0


บทบาทและหน้าที่
 
              อบต. หรือองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ 2537 (ปัจจุบันมีการแก้ไขถึงฉบับที่ 3 พ.ศ 2542) ครั้งแรกมีจำนวน 617 แห่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 ปัจจุบันมีทั้งหมด
6,744 แห่ง (ข้อมูล ณ 30 ส.ค 2545) มีรูปแบบคล้ายการปกครองระดับชาติกล่าวคือ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ฝ่ายการเมือง และฝ่ายประจำ กล่าวคือ
 
              ก. ฝ่ายการเมือง ประกอบด้วย
                  
                        1. สภา อบต. ประกอบด้วย สมาชิก อบต. ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากประชาชนหมู่บ้านละ 2 คน โดยให้ที่ประชุมเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง  ประธานสภา 1 คน รองประธานสภา1 คน และเลขานุการ อีก 1 คน นอกนั้นเป็นสมาชิกสภา (ซึ่งต้องเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการบริหาร 1 คน และกรรมการบริหารอีก 2 คน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
                              1.1  ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล
                              1.2  พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบล ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
                              1.3  ควบคุมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนพัฒนาตำบล และกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
                        2. คณะกรรมการบริหาร สภา อบต. เป็นผู้เลือกคณะกรรมการบริหาร อบต. ประกอบด้วยประธานกรรมการบริหาร 1 คน
               และกรรมการบริหารอีกจำนวน 2 คน มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการทั้งปวงขององค์การบริหารส่วนตำบลดังนี้
                             2.1 บริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามมติ ข้อบังคับ และแผนพัฒนาตำบล และรับผิดชอบ การบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาให้ความเห็นชอบ
                            2.2 รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลทราบอย่างน้อยปีละสองครั้ง
                            2.3 ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ทางราชการมอบหมาย
 
              ข. ฝ่ายประจำ ประกอบด้วย
                  
                        1. สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป งานธุระการงานการเจ้าหน้าที่ งานสวัสดิการ งานประชุม งานเกี่ยวกับการตราข้อบังคับตำบล งานนิติกร งานการพาณิชย์ งานรัฐพิธี  งานประชาสัมพันธ์ งานจัดทำแผนพัฒนาตำบล งานจัดทำข้อบังคับ งบประมาณประจำปี งานขออนุมัติดำเนินการ ตามข้อบังคับ งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
                       2. ส่วนการคลัง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่าย การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน การตรวจเงิน การหักภาษีเงินได้ และการนำส่งภาษี การตัดโอนเงินเดือน การรายงานเงินคงเหลือ การจัดทำงบจัดทำบัญชีทุกประเภท งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
                       3. ส่วนโยธา ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานสำรวจ ออกแบบ เขียนแบบงานประมาณการค่าใช้จ่ายตามโครงการ งานควบคุมอาคาร งานการก่อสร้าง งานซ่อมบำรุง งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
                       4. ส่วนสาธารณสุข (มีเฉพาะอบต. ชั้นหนึ่ง) ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานสุขาภิบาล งานควบคุมโรคติดต่อ งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย
 
อำนาจหน้าที่ อบต.
 
                 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม(มาตรา 66) ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)
                          (1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
                          (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
                          (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
                          (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                          (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
                          (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เก็บ เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
                          (7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                          (8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
                          (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณ หรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
                                ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล อาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
                                ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)             
                          (1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
                          (2) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
                          (3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
                          (4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
                          (5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
                          (6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
                          (7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
                          (8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
                          (9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
                        (10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
                        (11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
                        (12) การท่องเที่ยว
                        (13) การผังเมือง
 
นอกจากที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะสามารถดำเนินการ ภายในเขตของตนเองแล้ว องค์การบริหารส่วนตำบล ยังอาจสามารถทำกิจการ นอกเขต ได้หรือร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วย การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำ และเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน(มาตรา 73) นอกจากอำนาจหน้าที่ซึ่งได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบลแล้วยังมีการรับรองและกำหนดอำนาจหน้าที ขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ในพระราชบัญญัติกำหนด แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ 2542 มาตรา 16 อีก มีทั้งหมด 31 ข้อ ประกอบด้วย
                (1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
                (2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ
                (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
                (4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
                (5) การสาธารณูปโภค
                (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
                (7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
                (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
                (9) การจัดการศึกษา
                (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
                (11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
                (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่
                (13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
                (14) การส่งเสริมกีฬา
                (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
                (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
                (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
                (18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
                (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล
                (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
                (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
                (22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
                (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบร้อยและการอนมัย โรงมหรสพ และสาธารณ สถานอื่นๆ
                (24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และส่งแวดล้อม
                (25) การผังเมือง
                (26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
                (27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
                (28) การควบคุมอาคาร
                (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย
                (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด