Background



โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างองค์กร
24 กุมภาพันธ์ 2565

0


ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ โครงสร้่างองค์กร ได้ที่นี่

โครงสร้างและอำนาจหน้าที่
30 พฤศจิกายน 542

0


ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน
 
เรื่อง   โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน  สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
 
 สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน
 
 
              เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา   7(1)(2)   และ(3)   แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ  พ.ศ.๒๕๔๐  ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารของทางราชการ  และหน่วยงานของรัฐ  องค์การบริหารส่วนตำบลอิปันในฐานะของหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  สังกัดกระทรวงมหาดไทย  จึงออกประกาศโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน  สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน  สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  ตามความในมาตรา  ๗ (๑) (๒)  และ  (๓)  แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ  พ.ศ.๒๕๔๐  ดังต่อไปนี้
 
          1.  โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน  อำนาจหน้าที่ที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.2537  พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ.2542  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น  พ.ศ.2542  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
 
          ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  มีโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงานดังต่อไปนี้
 
                  ๒.๑)  สภาองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน  จำนวน  24  คน  ประกอบด้วย ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  จำนวน  ๑  คน  และรองประธานสภา  จำนวน  ๑  คน  ซึ่งนายอำเภอพระแสงแต่งตั้งจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอิปันตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน และเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน จำนวน 1 คน ซึ่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอิปันเป็นผู้แต่งตั้ง  มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
 
                             ๑.)  ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล  เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล
 
                             ๒.) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล                    ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี  และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
 
                             ๓.) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย  นโยบายแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล  ข้อบัญญัติ  ระเบียบ  และข้อบังคับของทางราชการ
 
                   ๒.๒)  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  จำนวน  ๑  คน  ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน  มีอำนาจหน้าที่  ดังนี้
 
                             ๑.)  กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย  นโยบาย  แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล  ข้อบัญญัติระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
 
                             ๒.)  สั่ง  อนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล
 
                             ๓.)  แต่งตั้ง  และถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
 
                             ๔.)  วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
                             ๕.)  รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
 
                             ๖.)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
 
                             ๗.)  ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมาย  และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล
 
                   ๒.๓)  รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  จำนวน  ๒  คน  ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  ซึ่งมิใช่สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  ตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
 
                   ๒.๔)  เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  จำนวน  ๑  คน  ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  และมิใช่เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  มีหน้าที่ตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอิปันมอบหมาย
 
                   ๒.๕)  สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  แบ่งส่วนราชการ  ดังนี้
 
                             ๑.)  สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล  รับผิดชอบงานด้าน
 
                                  ๑.๑  ด้านงานบริหารงานทั่วไป
 
                                        - งานกิจการสภา  อบต.
 
                                        - งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
                                        - งานกฎหมายและคดี
 
                                        - งานการเจ้าหน้าที่
 
                                        - งานจดทะเบียนพาณิชย์
 
                                        - งานจัดการศึกษา  ศาสนา  วัฒนธรรม
 
                                  ๑.๒  ด้านงานนโยบายและแผน
 
                                        - งานงบประมาณ
 
                                        - งานวิชาการ  ข้อมูลและประชาสัมพันธ์
 
                                         - งานข้อบัญญัติและระเบียบ
 
                                  ๑.๓  ด้านงานบริหารงานบุคคล
 
                                        - งานโครงสร้างอัตรากำลัง
 
                                        - งานสวัสดิการของบุคลากร
 
                                        - งานพัฒนาบุคลกร
 
                                  ๑.๔  ด้านงานสวัสดิการสังคม
 
                                         - งานส่งเสริมกิจกรรมและพัฒนาอาชีพ
 
                                        - งานส่งเสริมสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  ผู้พิการ
 
                                  ๑.๕  ด้านงานราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง หรือส่วนราชการใด ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะ
 
                             ๒.)  กองคลัง  รับผิดชอบงานด้าน
 
                                  ๒.๑  งานการเงินและบัญชี
 
                                        - งานการเงินและบัญชี  งบแสดงฐานะทางการเงิน
 
                                        - งานรับเงิน  เบิกจ่ายเงิน  ทะเบียนคุมการเบิกจ่ายเงิน
 
                                        - งานจัดทำฎีกา  เก็บรักษาเงิน
 
                                  ๒.๒  งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
 
                                        - งานภาษีอากร  ค่าธรรมเนียมและค่าใบอนุญาต
 
                                        - งานพัฒนารายได้  ทะเบียนควบคุมและเร่งรัดรายได้
 
                                        - งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ
 
                                  ๒.๓  งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
 
                                        - งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี
 
                                        - งานพัสดุ  ทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุ  ครุภัณฑ์
 
                                        - งานจัดทำระบบฐานข้อมูล
 
                             ๓.)  กองช่าง  รับผิดชอบงานด้าน
 
                                  ๓.๑  งานแบบแผนและก่อสร้าง
 
                                  ๓.๒  งานออกแบบและควบคุมอาคาร
 
                                  ๓.๓  งานสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ
 
                                  ๓.๕  งานผังเมือง
 
          3.  สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบล  ประกอบด้วย
 
                      ๓.๑)  หน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.2537  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552  และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549  ดังนี้
 
                             (1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
 
                                       (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัด
 
มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
 
                                      (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
 
                                      (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
                                      (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
 
                                      (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
 
                                      (7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
                                      (8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของ
 
ท้องถิ่น
 
                                      (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือ
 
บุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
 
                      ๓.๒)  หน้าที่อาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล  และองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552
 
                                มาตรา 68  ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขต
 
องค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้
 
                                      (1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
 
                                      (2) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
 
                                      (3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
 
                                      (4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
 
                                      (5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
 
                                      (6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
 
                                      (7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
 
                                      (8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
 
                                      (9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
 
                                      (10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
 
                                      (11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
 
                                      (12) การท่องเที่ยว
 
                                      (13) การผังเมือง
 
   ๓.๓)  อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549 ให้เทศบาล  เมืองพัทยา  องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
 
(1) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ (มาตรา 16 (3))
 
(2) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ (มาตรา 16 (4))
 
(3) การสาธารณูปการ (มาตรา 16 (5))
 
(4) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ (มาตรา 16 (6))
 
(5) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 16 (7))
 
(6) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (มาตรา 16 (8))
 
                   (7) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา 16 (12))
 
                   (8) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (มาตรา 16 (13))
 
                   (9) การส่งเสริมกีฬา (มาตรา 16 (14))
 
(10) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา 16 (15))
 
(11) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา 16 (16))
 
                             (12) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (มาตรา 16 (19))
 
(13) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน (มาตรา 16 (20))
 
(14) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (มาตรา 16 (21))
 
(15) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (มาตรา 16 (22))
 
(16) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ (มาตรา 16 (23))
 
                   (17) การผังเมือง (มาตรา 16 (25))
 
                   (18) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร (มาตรา 16 (26))
 
(19) การดูแลรักษาที่สาธารณะ (มาตรา 16 (27))
 
                   (20) การควบคุมอาคาร (มาตรา 16 (28))
 
(21) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (มาตรา 16 (30))
 
                   (22) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 16 (31))        
 
               การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปันนั้น  เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหาร่วมสร้างร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปันให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน     การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล         อิปัน จะสมบูรณ์ได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง  องค์การบริหารส่วนตำบลอิปันยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร  นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน  และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคคลากรที่มีคุณภาพโดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา  ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้นจะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่นและเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยส่วนรวม
 
                   การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และกฎหมายอื่นของ อบต. ใช้เทคนิค SWOT เข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม ในการดำเนินการตามภารกิจตามหลัก SWOT องค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น 8 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552  และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549  ดังนี้
 
                             1.  การพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาการศึกษา มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
 
- ส่งเสริมการศึกษา พัฒนาศูนย์เด็กเล็กอย่างเป็นระบบ
 
- ส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียน(ก.ศ.น.)ให้มีประสิทธิภาพ
 
- พัฒนาและขยายศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนให้เพิ่มขึ้น
 
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพและเพียงพอ
 
- พัฒนาระบบสื่อสารการเรียนการสอนให้ทันสมัย
 
- ส่งเสริมการฝึกวิชาชีพ หลักสูตรระยะสั้นตามกลุ่มอาชีพต่างๆ
 
- ส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดได้พัฒนาตนเอง ให้อยู่ในระดับสูงขึ้น
 
2.  การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านสาธารณูปโภค มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
 
- ขยายการบริการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา อื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพ
 
 - ประสานหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงระบบบริการสาธารณะ เช่น ห้วย หนอง คลอง สระน้ำ ที่เป็นประโยชน์ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
3.  การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
 
- สนับสนุนให้มีตลาดการเกษตรในตำบล
 
- ส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้การเกษตรด้านต่างๆ
 
- ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มอาชีพต่างๆของชุมชน
 
- ส่งเสริมกลุ่มเพื่อการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุธรรมชาติ
 
- สนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนา สตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
 
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนใช้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีพ
 
                        4.  การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
 
              - ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพของประชาชนอย่างทั่วถึง
 
               - ส่งเสริม สนับสนุน การสร้างสุขภาพทุกรูปแบบ
 
               - ปรับปรุงการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
 
               - ส่งเสริมการสร้างสุขภาพให้แข็งแรง
 
               - ส่งเสริมการป้องกันโรคติดต่อต่างๆ
 
               - ปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ของตำบลอิปัน ให้เป็นเมืองน่าอยู่
 
               - จัดทำโครงการอนุรักษ์ป่าชุมชนในเขตตำบลอิปันให้ยั่งยืน
 
          5.  การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านสวัสดิการและบริการ มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
 
- จัดให้มีสวัสดิการของผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส อย่างทั่วถึง
 
- ส่งเสริมจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากจนในตำบลอิปัน
 
- จัดให้มีระบบความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน(มาตรา 16 (30))
 
- จัดทีมกู้ชีพ กู้ภัย ไว้บริการตลอด 24 ชม. ตอบสนองนโยบายภาครัฐอย่างเป็นระบบ(มาตรา 16 (30))
 
          6.  การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านสังคม ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
 
               - ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และประเพณีต่างๆ ที่สำคัญในตำบลอิปัน
 
  - ส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลอิปัน
 
  - ส่งเสริม วัด โรงเรียน เป็นที่ประสานความร่วมมือพัฒนาท้องถิ่น         
 
          7.  การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการกีฬา และนันทนาการ มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
 
                - ส่งเสริมด้านการกีฬาแก่เยาวชนในตำบลอิปันอย่างเป็นระบบ
 
               - ส่งเสริมการออกกำลังกาย พัฒนาสุขภาพภายในตำบล
 
8.  การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
 
- ส่งเสริมพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ที่สำคัญของตำบลอิปันให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนบริการประชาชนทั่วไป(มาตรา 68(4))
 
- ส่งเสริมภูมิปัญญาพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
 
 
 
                   ภารกิจทั้ง  8 ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถจะแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปันได้เป็นอย่างดี  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วยการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล  นโยบายของรัฐบาล  และนโยบายของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ
 
          ๔.  วิธีดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน
 
                   การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในท้องถิ่นเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามภารกิจอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  ความมีประสิทธิภาพ  ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน  การอำนวยความสะดวก  และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น  ทั้งนี้  โดยมีผู้รับผิดชอบผลของงานในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ  ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน  การมีส่วนร่วมของประชาชน  การเปิดเผยข้อมูลการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน  ทั้งนี้  ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ   
 
                   กรณีเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่  ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  ตั้งอยู่  หมู่ที่  1  ตำบลอิปัน  อำเภอพระแสง  จังหวัด             สุราษฎร์ธานี 
 
          ๕.  สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับส่วนราชการภายในองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  สามารถติดต่อได้ที่   ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน  ตั้งอยู่ หมู่ที่  1  ตำบลอิปัน  อำเภอพระแสง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ๘4210  โทรสาร  ๐-๗๗36-9130  เว็บไซต์  http://www.eipun.go.th