สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน |
|
1. ด้านกายภาพ
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
3. ประชากร
4. สภาพทางสังคม
5. ระบบบริการพื้นฐาน
6. ระบบเศรษฐกิจ
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
|
|
|
|
|
|
|
1. ด้านกายภาพ |
|
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอพระแสง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านไสนา ตำบลอิปัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอพระแสง ห่างจากอำเภอพระแสง ประมาณ 2 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 96 กิโลเมตร องค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน มีพื้นที่โดยประมาณ 77.80 ตารางกิโลเมตร
องค์การบริหารส่วนตำบลอิปันมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ จดตำบลพ่วงพรหมคร อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ จดตำบลสินปุน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันออก จดตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันตก จดตำบลไทรขึงและตำบลสาคู อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของตำบลอิปัน เป็นเนินสูงและที่ราบลุ่ม ลักษณะดินเป็นดินเหนียวและดินลูกรัง สภาพพื้นที่เหมาะสำหรับปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชไร่บางชนิด
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บางครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงสร้างความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม แต่อาจเกิด “ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะดินโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นดินเหนียว และดินลูกรัง ดินร่วนปนดินทรายแห้ง เหมาะสำหรับทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และปลูกพืชบางชนิด
|
|
|
|
|
|
|
2. ด้านการเมือง/การปกครอง |
|
2.1 เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน ประกอบด้วยจำนวนหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน
2.2 การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 12 หมู่บ้าน
|
|
|
|
|
|
|
3. ประชากร |
|
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
หมูที่
|
หมู่บ้าน
|
จำนวนครัวเรือน
|
จำนวนประชากร
|
รวม
|
ชาย
|
หญิง
|
1
|
บ้านไสนา
|
1,411
|
888
|
886
|
1,774
|
2
|
บ้านโพธิ์บาย
|
489
|
637
|
630
|
1,267
|
3
|
บ้านสายกลาง
|
240
|
368
|
377
|
745
|
4
|
บ้านปลายสาย
|
174
|
239
|
246
|
485
|
5
|
บ้านไสขรบ
|
436
|
617
|
627
|
1,244
|
6
|
บ้านควนเจริญ
|
199
|
260
|
290
|
550
|
7
|
บ้านนูน
|
167
|
245
|
247
|
492
|
8
|
บ้านบางหยด
|
152
|
250
|
239
|
489
|
9
|
บ้านบ่อพระ
|
386
|
442
|
510
|
952
|
10
|
บ้านใหม่
|
202
|
274
|
259
|
533
|
11
|
บ้านควนใหม่
|
164
|
274
|
258
|
532
|
12
|
บ้านควนนกหว้า
|
178
|
196
|
181
|
377
|
รวม
|
4,198
|
4,690
|
4,750
|
9,440
|
ข้อมูล เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จากสำนักงานทะเบียนอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ข้อมูลจำนวนประชากรเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี (ปี 2561 - 2563)
หมู่ที่
|
หมู่บ้าน
|
พ.ศ.2561
|
พ.ศ.2562
|
พ.ศ.2563
|
ชาย
|
หญิง
|
ชาย
|
หญิง
|
ชาย
|
หญิง
|
1
|
บ้านไสนา
|
1,246
|
1,253
|
1,241
|
1,251
|
1,257
|
1,256
|
2
|
บ้านโพธิ์บาย
|
605
|
617
|
618
|
620
|
625
|
620
|
3
|
บ้านสายกลาง
|
349
|
370
|
357
|
378
|
364
|
379
|
4
|
บ้านปลายสาย
|
237
|
253
|
235
|
253
|
235
|
253
|
5
|
บ้านไสขรบ
|
632
|
614
|
648
|
607
|
643
|
616
|
6
|
บ้านควนเจริญ
|
276
|
278
|
274
|
289
|
272
|
297
|
7
|
บ้านนูน
|
227
|
242
|
232
|
249
|
236
|
252
|
8
|
บ้านบางหยด
|
248
|
235
|
242
|
236
|
244
|
231
|
9
|
บ้านบ่อพระ
|
451
|
504
|
455
|
507
|
447
|
509
|
10
|
บ้านใหม่
|
265
|
246
|
265
|
253
|
266
|
257
|
11
|
บ้านควนใหม่
|
258
|
247
|
261
|
245
|
272
|
254
|
12
|
บ้านควนนกหว้า
|
194
|
182
|
198
|
178
|
195
|
180
|
รวม
|
4,988
|
5,041
|
5,026
|
5,066
|
5,056
|
5,104
|
รวมทั้งสิ้น
|
10,029
|
10,092
|
10,160
|
คาดการณ์ประชากรในอนาคตของตำบลอิปันข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี (ปี 2561 - 2563) พบว่า
-ประชากรชาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
-ประชากรหญิง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
-สัดส่วนประชากรหญิงมากกว่าประชากรชาย
|
|
|
|
|
|
|
4. สภาพทางสังคม |
|
4.1 การศึกษา
4.1.1 โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 แห่ง
- โรงเรียนบ้านปลายสาย หมู่ที่ 11
- โรงเรียนบ้านไสขรบ หมู่ที่ 5
- โรงเรียนบ้านยูงทอง หมู่ที่ 2
- โรงเรียนบ้านบ่อพระ หมู่ที่ 9
- โรงเรียนบ้านบางหยด หมู่ที่ 10
4.1.2 โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
- โรงเรียนพระแสงวิทยา หมู่ที่ 1
4.1.3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) 2 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านยูงทอง หมู่ที่ 2
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไสขรบ หมู่ที่ 5
4.1.4 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 1 แห่ง
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพระแสง หมู่ที่ 1
4.1.5 โรงเรียนอนุบาล (เอกชน) 1 แห่ง
- โรงเรียนอนุบาลดวงใจแม่ หมู่ที่ 1
(ข้อมูลเดือนเมษายน 2557 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3)
4.2 สาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสขรบ หมู่ที่ 5
4.3 อาชญากรรม
- ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นในตำบลอิปัน มีแต่ปัญหาการลักขโมย
4.4 ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน จากการที่ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แจ้งจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูและฝึกอาชีพของผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ในแต่ละปีถือว่าน้อย เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำประชาชน หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปันที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลอิปันสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลอิปันก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
4.5 การสังคมสังเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลอิปันได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
4. ประสานหน่วยงานต่างๆ ในการของบประมาณให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้ในเขตตำบลอิปัน
|
|
|
|
|
|
|
5. ระบบบริการพื้นฐาน |
|
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอิปันมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้
5.1 เส้นทางคมนาคม
การคมนาคมทางบก มีถนนลาดยางติดต่อระหว่างหมู่บ้าน อำเภอและจังหวัดซึ่งมีถนนทางหลวงสายหลัก 4 สาย ได้แก่
- ทางหลวงหมายเลข 4009 ตอนพระแสง - เวียงสระ ระยะทาง ประมาณ 2 กม.
- ทางหลวงหมายเลข 4035 ตอนพระแสง - อ่าวลึก ระยะทาง ประมาณ 2 กม.
- ทางหลวงหมายเลข 4113 ตอนพระแสง - เคียนซา ระยะทาง ประมาณ 8 กม.
- ทางหลวงหมายเลข 4110 ตอนพระแสง - ทุ่งใหญ่ ระยะทาง ประมาณ 2.5 กม.
- ถนนลาดยาง มีจำนวน 22 สาย
- ถนนหินผุ มีจำนวน 55 สาย
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก มีจำนวน 36 สาย
5.2 การไฟฟ้า
- มีไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทุกหมู่บ้านและติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ/สัญญาณไฟจราจร
5.3 การประปา
- การประปาส่วนภูมิภาค
- ระบบประปาหมู่บ้าน
5.4 โทรศัพท์
- สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ 1 แห่ง ได้แก่ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย อำเภอพระแสง
- เสาสัญญาณโทรศัพท์ ระบบทรูมูฟ
- เสาสัญญาณโทรศัพท์ ระบบดีแทค
- เสาสัญญาณโทรศัพท์ ระบบจีเอสเอ็ม
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
- Kerry Express
|
|
|
|
|
|
|
6. ระบบเศรษฐกิจ |
|
6.1 การเกษตร
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน ร้อยละ ๗๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา หน่วยงานเกี่ยวกับเกษตรมีดังนี้
- สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง หมู่ที่ 1
- ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลอิปัน หมู่ที่ 1
- สหกรณ์การเกษตรพระแสง จำกัด หมู่ที่ 1
6.2 การประมง
- สำนักงานประมงอำเภอพระแสง
6.3 การปศุสัตว์
- เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ เป็นต้น
๖.๔ การบริการ
- โรงแรมจำเนียนอินทร์
- พระแสงรีสอร์ท
- บ้านในฝันรีสอร์ท
- บริษัทลิกไนท์ทัวร์
๖.๕ การท่องเที่ยว
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอิปันไม่มีแหล่งท่องเที่ยวแต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอนุสรณ์แทรคเตอร์พระราชทาน การจัดงานประเพณีต่างๆ การจัดสร้างสวนสาธารณะสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ
๖.๖ อุตสาหกรรม
- โรงงานปาล์มแสงศิริ
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
▪ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
▪ ธนาคารออมสิน
๖.๘ แรงงาน
ประชากรที่มีอายุ ๑๕ - ๖๐ ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ประชากรอายุระหว่าง ๒๕ - ๕๐ ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบ คือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ ซึ่งพื้นที่ในตำบลอิปันส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นพื้นที่ทำเกษตรแบบครัวเรือน
|
|
|
|
|
|
|